3. ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception)
3.1 ( http://www.dontong52.blogspot.com/ ) ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า
นักคิดคนสำคัญของกลุ่มนี้ คือ จอห์น ล็อค วิลเฮล์ม วุนด์ ทิชเชเนอร์ และแฮร์บาร์ด
ซึ่งมีความเชื่อ ดังนี้
1. มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดี ความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดจากสิ่งแวดล้อม
2. จอห์น ล็อค เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากบุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5
3. วุนด์ เชื่อว่า จิตมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง 5 การรู้สึกและจินตนาการ
4. ทิชเชเนอร์เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง 5 การรู้สึก และจินตนาการ
4. ทิชเชเนอร์เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง 5 การรู้สึก และจินตนาการ
5. แฮร์บาร์ต เชื่อว่า การเรียนรู้มี 3 ระดับ คือ ขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส ขั้นจำ ความคิดเดิม
และขั้นการเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจ
6. แฮร์บาร์ต เชื่อว่า
การสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่
3.2 กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์(2523) กล่าวว่า (ประมวลทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นสากลและการประยุกต์สู่การสอน)
ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception หรือ Herbartianism) นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ จอร์น ล็อค (John locke)
วิลเฮล์ม วุนด์ (Wilhelm Wundt) ทิชเชเนอร์ (Titchener) และแฮร์บาร์ต (Herbart) ซึ่งมีความเชื่อดังนี้ (Bigge,1964:33-47)
ก. ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
1. มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดีความเลวในตัวเอง
การเรียนรู้เกิดได้จากแรงกระตุ้นภายนอก หรือสิ่งแวดล้อม (neutral - active)
2. จอร์น ล็อค
เชื่อว่าคนเราเกิดมาพร้อมกับจิตหรือสมองที่ว่างเปล่า (tabula rasa) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
การส่งเสริมให้ยุคคลมีประสบการณ์มากๆในหลายๆทางจึงเป็นการช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้
3.วุนด์
เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบ 2 ส่วนคือ การสัมผัสทั้ง 5 (sensa - tion)และการรู้สึก (Feeling)คือการตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส
4. ทิชเชเนอร์มีความเห็นเช่นเดียวกับวุนด์
แต่ได้เพิ่มส่วนประกอบของจิตอีก 1 ส่วน ได้แก่ จินตนาการ (imagination)คือการคิดวิเคราะห์
5. แฮร์บาร์ต
เชื่อว่าการเรียนรู้มี 3 ระดับคือ ขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส (sense
activity) ขั้นการจำความคิดเดิม (memory characterized) และขั้นการเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจ (conceptual thinking
or understanding)การเรียนรู้เกิดขึ้นจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง
5 และสั่งสมประสบการณ์หรือความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น
โดยผ่านทางกระบวนการเชื่อมโยงและการสร้างความสัพันธ์ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้เดิมเข้าด้วยกัน
(apperception)
6. แฮร์บาร์ตเชื่อว่า
การสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่
ต่อไปควรจะช่วยให้ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่
จนได้ข้อสรุปที่ต้องการแล้วจึงให้ผู้เรียนนำข้อสรุปที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์ใหม่ๆ
ข. หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1.การจัดให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางสัมผัสทั้ง
5 เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
2.การช่วยให้ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้อย่างดี
3.การสอนโดยดำเนินการตาม
5 ขั้นตอนของแฮร์บาร์ต จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีรวดเร็ว
ขั้นตอนดังกล่าวคือ
3.1 ขั้นเตรียมการ
หรือขั้นนำ (preparation)ได้แก่
การเร้าความสนใจของผู้เรียนและการทบทววนความรู้เดิม
3.2 ขั้นเสนอ
(presentation) ได้แก่ การเสนอความรู้ใหม่
3.3 ขั้นการสัมพันธ์ความรู้เดิมกับความรู้ใหม่
((comparison and abstraction) ได้แก่
การขยายความรู้เดิมให้กว้างออกไป
โดยสัมพันธ์ความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ด้วยวิธีการต่างๆ
3.4 ขั้นสรุป (generalization) ได้แก่ การสรุปการเรียนรู้เป็นหลักการหรือกฎต่างๆที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์อื่นๆต่อไป
3.5 ขั้นประยุกต์ใช้
(application)ได้แก่
การให้ผู้เรียนนำข้อสรุปหรือการเรียนรู้ที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ๆที่ไม่เหมือนเดิม
3.3 วิจัย ผู้รวบรวม(http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm) กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า
นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral
- passive) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5
(sensation) และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี
สรุป ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception)
การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral -
passive) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง
5 ทำให้เกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี
เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่
อ้างอิง
กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์. (2523). จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology). กรุงเทพ :
ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
วิจัย ผู้รวบรวม.[online],Available:http://www.wijai48.com/learningstye/learningprocess.htm.
[2556,17 กรกฎาคม].
ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
วิจัย ผู้รวบรวม.[online],Available:http://www.wijai48.com/learningstye/learningprocess.htm.
[2556,17 กรกฎาคม].
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น