2. ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (Natural Unfoldment)
2.1 ทิศนา แขมมณี (2555:47-48) กล่าวว่า ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (Natural Unfoldment)นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ รุสโซ (Rousseau) ฟรอเบล (Froebel) และเพสตาลอสซี (Pestalozzi) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อดังนี้
ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
1.มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดี และการกระทำใด ๆ
เกิดขึ้นจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (good-active)
2.ธรรมชาติของมนุษย์มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองหากได้รับเสรีภาพในการเรียนรู้
มนุษย์จะสามารถพัฒนาตนเองไปตามธรรมชาติ
3. รุสโซเชื่อว่าเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก ๆ เด็กมีสภาวะของเด็ก
ซึ่งเด็กแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก
4.รุสโซเชื่อว่าธรรมชาติคือแหล่งความรู้สำคัญ
เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติคือ การเรียนรู้จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
จากผลของการกระทำของตน มิใช่การเรียนจากหนังสือ หรือจากคำพูดบรรยาย
5.เพสตาลอสซี มีความเชื่อว่า คนมีธรรมชาติปนกันใน 3 ลักษณะ คือ “คนสัตว์” ซึ่งมีลักษณะเปิดเผย เป็นทาสของกิเลส “คนสังคม” มีลักษณะที่จะเข้ากับสังคมคล้อยตามสังคม และ “คนธรรม” ซึ่งมีลักษณะของการรู้จักรับผิดชอบชั่วดี คนจะต้องมีการพัฒนาใน 3 ลักษณะ ดังกล่าว
6.เพสตาลอสซี เชื่อว่าการใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอน จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี
ฟรอเบลเชื่อว่า
ควรจะให้การศึกษาชั้นอนุบาลแก่เด็กเล็ก อายุ 3-5 ขวบ โดยให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
2.2 (http://dontong52.blogspot.com/) ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า
นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ รุสโซ ฟรอเบล และเพสตาลอสซี นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ
คือ
1. มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดี การกระทำใด ๆ
เกิดขึ้นจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง
2. ธรรมชาติของมนุษย์มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองหากได้รับ เสรีภาพในการเรียนรู้ มนุษย์ก็จะสามารถพัฒนาตนองไปตามธรรมชาติ
3. รุสโซมีความเชื่อว่าเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก ๆ เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก
4. รุสโซมีความเชื่อว่าธรรมชาติ คือ แหล่งความรู้สำคัญ เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ คือ การเรียนรู้จากการปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จากผลของการกระทำของตน มิใช่การเรียนจากหนังสือ หรือจากคำพูดบรรยาย
5. เพสตาลอสซี มีความเชื่อว่า คนมีธรรมชาติปนกันใน 3 ลักษณะ คือ คนสัตว์ คนสังคม คนธรรม
6. เพสตาลอสซี เชื่อว่า การใช้ของจริงเป็นสื่อการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี
7. ฟรอเบล เชื่อว่า ควรจะให้การศึกษาชั้นอนุบาลแก่เด็กเล็ก อายุ 3-5
8. ฟรอเบล เชื่อว่า การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก
2. ธรรมชาติของมนุษย์มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองหากได้รับ เสรีภาพในการเรียนรู้ มนุษย์ก็จะสามารถพัฒนาตนองไปตามธรรมชาติ
3. รุสโซมีความเชื่อว่าเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก ๆ เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก
4. รุสโซมีความเชื่อว่าธรรมชาติ คือ แหล่งความรู้สำคัญ เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ คือ การเรียนรู้จากการปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จากผลของการกระทำของตน มิใช่การเรียนจากหนังสือ หรือจากคำพูดบรรยาย
5. เพสตาลอสซี มีความเชื่อว่า คนมีธรรมชาติปนกันใน 3 ลักษณะ คือ คนสัตว์ คนสังคม คนธรรม
6. เพสตาลอสซี เชื่อว่า การใช้ของจริงเป็นสื่อการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี
7. ฟรอเบล เชื่อว่า ควรจะให้การศึกษาชั้นอนุบาลแก่เด็กเล็ก อายุ 3-5
8. ฟรอเบล เชื่อว่า การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก
2.3 Dr.Surin ( http://surinx.blogspot.com/ )
1.เพสตาลอสซี มีความเชื่อว่า คนมีธรรมชาติปนกันใน 3 ลักษณะ คือคนสัตว์ ซึ่งมีลักษณะเปิดเผยเป็นทาสของกิเลส คนสังคม
มีลักษณะที่จะเข้ากับสังคมคล้อยตามสังคม และ คนธรรม
ซึ่งมีลักษณะของการรู้จักรับผิดชอบชั่วดี คนจะต้องมีการพัฒนาใน 3 ลักษณะดังกล่าว
2.เพสตาลอสซีเชื่อว่าการใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอน
จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี
สรุป ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ
เป็นการให้เด็กเรียนรู้ตามธรรมชาติโดยเรียนรู้จากการสัมผัส การกระทำ การพูดและจัดให้เด็กได้เรียนในชั้นอนุบาลซึ่งจะเป็นประสบการณ์โดยตรงที่จะทำให้เด็กเกิดการพัฒนาอย่างเป็นลำดับขั้น
อ้างอิง ทิศนา แขมมณี.(2553). การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ.[online],Available:http://dontong52.blogspot.com/.[2556,09
กรกฎาคม].
สุริน
ชุมสาย ณ อยุธยา.ทฤษฎีและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้.[online],Available:http://www.surinx.blogspot.com.
[2556,09 กรกฎาคม].
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น