วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline)

1. ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline)
      1.1 ทิศนา  แขมมณี(2555:45-46) กล่าวว่า  ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญา (mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อซึ่งจะแข้งแรงได้ด้วยการฝึกออกกำลังกาย ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น  นักคิดกลุ่มนี้มีแนวคิดออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ (Bigge, 1964: 19-30)
        1  กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Discipline)  นักคิดที่สำคัญของกลุ่มนี้คือ เซนต์ออกุสติน (St.Augustine)  จอห์น คาลวิน (John Calvin) และคริสเตียน โวล์ฟ (Christian Wolff)  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ ดังนี้
                   ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
1.มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่ว  และการกระทำใด ๆ ของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายในตัวของมนุษย์เอง (bad-active)
2.มนุษย์พร้อมที่จะทำความชั่วหากไม่ได้รับการสั่งสอนอบรม
3.สมองมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็นส่วน ๆ (faculties) ซึ่งหากได้รับการฝึกอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
4.การฝึกสมอง หรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด
5.การฝึกฝนสมองให้รู้จักคิด  ต้องใช้วิชาที่ยากเช่น วิชาคณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลติน ภาษากรีก และคัมภีร์ไบเบิล เป็นต้น
        2  ทฤษฎีของกลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุมีผลของมนุษย์ (Humanistic Mental Discipline) นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ พลาโต (plato) และอริสโตเติล (Aristotle) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อดังนี้
                   ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
1. พัฒนาการในเรื่องต่าง ๆ เป็นความสามารถของมนุษย์ มิใช่พระเจ้าบันดาลให้เกิด
2. มนุษย์เกิดมามีลักษณะไม่ดีไม่เลว และการกระทำของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายใน (neutral-active)
3. มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง มนุษย์มีอิสระที่จะเลือกทำความเข้าใจและหาเหตุผลของตน หากได้รับการฝึกฝนอบรมก็จะสามารถพัฒนาศักยภาพที่ติดตัวมามนุษย์มีความรู้ตั้งแต่เกิด แต่ถ้าขาด การกระตุ้นความรู้จะไม่แสดงออกมา
      
       1.2  สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา (http://surinx.blogspot.com/) ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า   นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญา (mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องโดย    การฝึกเช่นเดียวกับกล้ามเนื้อซึ่งจะแข็งแรงได้ด้วยการฝึกออกกำลังกาย ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งมากขึ้นเท่านั้น    นักคิดกลุ่มนี้มีแนวคิดแยกออกเป็น 2 กลุ่ม ย่อย คือ
1.กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental  Discipline) 
2.ทฤษฎีของกลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุผลของมนุษย์ (Humanistic Mental Discipline)
     
      1.3 ครูบ้านนอกดอทคอม (http://www.kroobannok.com) กล่าวว่า ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง(Mental Discipline)นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind)สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา วิธีการสอนแบบโส-เครติส(Socratic Method) และวิธีการสอนแบบบรรยาย(Didactic Method) เป็นวิธีการสอนตามทฤษฏีนี้ที่ใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้กระจ่างชัดและช่วยเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
               
       สรุป  
       ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline)   จิตหรือสมองหรือสติปัญญาสามารถพัฒนาได้โดยการฝึก การฝึกสมอง หรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด การฝึกฝนสมองให้รู้จักคิด ต้องใช้วิชาที่ยาก เช่น วิชาคณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลาติร ภาษากรีก และคัมภีร์ไบเบิล เป็นต้น จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออก
       
         อ้างอิง   
ครูบ้านนอกดอทคอม.[online],Available: http://www.kroobannok.com.[2556,09 กรกฎาคม]
ทิศนา แขมมณี.(2553)การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี   
                                ประสิทธิภาพพิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯสำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา.ทฤษฎีและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้.[online],Available:
                                 http://www.surinx.blogspot.com.[2556,09 กรกฎาคม].


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น